Sinopsis
Episodios
-
RUOK102 ถูกผู้ใหญ่ลวนลามทางสายตาจะรับมืออย่างไร? แก้ไขอย่างไรไม่ให้ความสัมพันธ์จบด้วยเรื่องเดิมๆ?
27/06/2019 Duración: 21minตอบคำถามประจำเดือนมิถุนายน R U OK เลือก 2 คำถามตั้งแต่เรื่องการถูกลวนลามจากผู้ใหญ่ที่รู้จักและตัดสัมพันธ์ไม่ได้ จะรับมืออย่างไร รวมถึงเรื่องการเลิกราที่พอสืบหาสาเหตุ มักเกิดขึ้นจากพฤติกรรมเดิมๆ ของเราที่แก้ไขไม่หาย จะทำให้อย่างไรให้เลิกพฤติกรรมแบบนี้เพื่อที่จะได้ไม่ต้องจบแบบเดิม Time index 01:22 จบความสัมพันธ์ด้วยพฤติกรรมเดิมๆ จะแก้ไขอย่างไรดี 15:11 ถูกลวนลามโดยสายตาและคำพูดจากคนที่เป็นผู้ใหญ่ จะทำอย่างไรดี
-
RUOK101 เมื่อความทุกข์ไม่ใช่ตัวร้าย เราเรียนรู้อะไรจากความทุกข์ได้บ้าง?
24/06/2019 Duración: 20minหลายคนคงปรารถนาที่จะมีชีวิตที่มีความทุกข์ให้น้อย เมื่อประสบพบทุกข์ก็เลยรีบพาตัวเองให้หลุดออกจากภาวะนั้นให้เร็วที่สุด R U OK ชวนนิ้วกลมและดุจดาว วัฒนปกรณ์ ตั้งคำถามว่า เราจำเป็นที่จะต้องรีบออกจากความทุกข์โดยเร็วเพื่อพาไปสู่ชีวิตที่มีความสุขไหม และในความทุกข์ที่หลายคนมองว่าเป็นตัวร้ายเรียนรู้อะไรจากมันได้บ้าง Time index 03:47 ชีวิตที่ดีคือชีวิตที่มีทุกข์น้อยจริงหรือ 04:49 การบังคับให้ตัวเองไร้ทุกข์อาจดักธรรมชาติ 05:45 ความทุกข์ทำให้เราเจอเพื่อนมนุษย์ในด้านที่ลึกซึ้ง 06:17 ความทุกข์เกิดจากอะไร 08:29 เราต้องออกจากสภาวะทุกข์ให้เร็วที่สุดไหม 10:30 คำปลอบว่า ‘เรื่องแค่นี้เอง’ ‘เดี๋ยวพรุ่งนี้ก็ลืม’ 12:44 เปิดพื้นที่ และเวลาให้กับความทุกข์ของตัวเอง และคนรอบข้าง 16:04 เมื่อสัมผัสด้านที่เปราะบางของกันและกันส่งผลต่อความสัมพันธ์อย่างไร
-
RUOK100 เราคลั่งไคล้ความสำเร็จมากเกินไปไหม ความสำเร็จนำพาไปสู่ความสุขจริงหรือเปล่า?
21/06/2019 Duración: 20minทุกวันนี้เราขับเคลื่อนตัวเองไปสู่ความสำเร็จ บางครั้งหมกมุ่น คลั่งไคล้ จนน่าตั้งคำถามกับตัวเองว่า จริงๆ แล้วความสำเร็จที่เป็นเป้าหมาย คือหนทางที่จะพาเราไปสู่ความสุขจริงหรือเปล่า R U OK เอพิโสดที่ 100 ชวน ‘นิ้วกลม’ มาเป็นพิธีกรรับเชิญ สำรวจตัวเองว่าสมการที่ความสำเร็จจะนำพาเราไปใกล้ความสุข เป็นจริงสำหรับทุกคนหรือไม่ และหากชีวิตพลาดแล้วพลาดอีก เราจะคิดอย่างไรให้ใจเจอความสุข Time index 03:22 เราคลั่งไคล้กับความสำเร็จมากเกินไปหรือเปล่า 04:28 ชีวิตที่ดีของแต่ละคนมีนิยามไม่เหมือนกัน 06:35 เป้าหมายของแต่ละคนไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน 07:38 เราหาที่ยืนให้ตัวเองยืนเต็มสองเท้าอย่างภาคภูมิ 13:02 เราจะสมดุลความสุขของตัวเองกับไม้บรรทัดของสังคมอย่างไร 14:59 เรานิยามความสำเร็จได้ด้วยตัวเอง 15:36 ความสำเร็จมาจากความต้องการภายในของเรา
-
RUOK21 Highly Sensitive Person อ่อนไหวง่าย ร้องไห้ง่าย ไม่ใช่ความผิดปกติ [Re-Broadcast]
18/06/2019 Duración: 16minหลายคนอาจรู้สึกว่าความอ่อนแอ เป็นคุณสมบัติที่ไม่พึงประสงค์ คนเราจำเป็นต้องแสดงความแข็งแกร่ง แต่ก็ไม่เสมอไป เพราะสำหรับบางคนความอ่อนไหวอาจเป็นบุคลิกภาพเฉพาะตัวที่เรียกว่า Highly Senstitive Person ไม่ชอบเสียงดัง ไม่ชอบอยู่กับคนเยอะๆ ไม่ชอบห้องที่มีไฟจัดจ้า ไม่ชอบเสื้อผ้าระคายตัว อ่อนไหวกับเรื่องราวต่างๆ ได้ง่ายหรือบางครั้งก็ร้องไห้เพื่อแสดงความรู้สึก เหล่านี้เป็นพื้นฐานของผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบนี้ ซึ่งไม่ใช่ความผิดปกติ R U OK เอพิโสดนี้เลยพาไปสำรวจบุคลิกภาพแบบ Highly Senstitive Person เพื่อเราจะได้เข้าใจและไม่ตัดสินใครง่ายๆ Time index 02:54 การร้องไห้ไม่ใช่สัญลักษณ์ของความอ่อนแอเสมอไป 04:40 อ่อนไหวง่ายไม่ได้ป่วย แต่เป็นบุคลิกภาพแบบ Highly Sensitive Person 07:44 มนุษย์สามารถตัดปรับลดเพิ่มพฤติกรรมได้หมด ถ้าเราอยากทำ 10:25 ถ้าซึมซับบรรยากาศรอบข้างได้ไวเกินไป เราต้องหาฟิลเตอร์ให้ตัวเอง อ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok21/
-
RUOK99 ณัฐ ศักดาทร กับการปรับตัวเรียนต่อต่างประเทศที่บอกตัวเองว่า “Don’t give up!”
14/06/2019 Duración: 16minR U OK เอพิโสดนี้ดุจดาว วัฒนปกรณ์ทำหน้าที่เป็นโฮสต์ ชวน ณัฐ ศักดาทร คุยเรื่องการปรับตัวเมื่อต้องเรียนต่อต่างประเทศ ว่าต้องเผชิญสภาวะความเครียดแบบไหน และหาทางออกอย่างไร ทั้งดุจดาวและณัฐต่างยืนยันว่ามันไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะสุดท้ายการปรับตัวเป็นความสามารถพิเศษของมนุษย์ที่เราทำได้เสมอถ้าเราต้องการ และถ้าผ่านมันไปได้เราจะเป็นคนที่เก่งขึ้น Time index 02:30 มนุษย์ผ่านการปรับตัวโดยไม่รู้ตัว 03:11 การปรับตัวในสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยทำให้เกิดความเครียด 04:59 Don’t Give Up! 08:52 ให้กำลังใจตัวเองในวันที่เครียด 09:50 หาซัพพอร์ตชีวิตและโฟกัสที่สิ่งตัวเองทำเร็จ 14:55 หาคำเตรียมไว้ให้กำลังใจตัวเอง
-
RUOK98 พ่อแม่หย่าร้างเมื่อเราโตเป็นผู้ใหญ่ เสียใจได้ไหม และรับมืออย่างไรดี
10/06/2019 Duración: 16minเหตุการณ์ไม่คาดฝันนอกจากอุบัติเหตุและการสูญเสียแล้ว การหย่าร้างของพ่อแม่ก็เป็นหนึ่งสิ่งที่รับมือได้ยาก บางครั้งไม่มีสัญญาณใดๆ และอาจเกิดขึ้นเมื่อเราโตเป็นผู้ใหญ่ ที่เหมือนจะเข้าใจอะไรๆ ได้ง่าย แต่เมื่อเจอจริงๆ กลับไม่ง่ายอย่างนั้น เพราะนิยามของคำว่าสมบูรณ์ไม่ได้หมายถึงการอยู่ด้วยกันเสมอไป R U OK เอพิโสดนี้จึงแนะนำแนวทางการสื่อสารของทุกคนในครอบครัว ที่แม้เราอาจไม่เห็นด้วยแต่อย่างน้อยก็ช่วยให้ผ่านเวลายากลำบากนี้ด้วยความเข้าใจที่ตรงกันมากขึ้น Time index 04:10 เราเสียใจและฟูมฟายได้ในพื้นที่ปลอดภัย 06:12 เหตุผลการเลิกราของพ่อแม่จำเป็นต้องบอกให้ลูกรู้ 06:48 การสื่อสารจะช่วยให้ผ่านเวลายากๆ ด้วยความเข้าใจที่ตรงกัน 07:32 เราทำได้อย่างมากที่สุดคือยอมรับในเหตุผลนั้น 09:19 ค่อยๆ ย่อยความรู้สึกของตัวเอง 09:48 พูดคุยอย่างผู้ใหญ่ว่าเราจะแยกจากกันอย่างไรดี 11:33 การหย่าร้างไม่ได้หมายความว่าชีวิตจะไม่สมบูรณ์
-
RUOK97 รูปร่างหน้าตา พฤติกรรม ความดี ทำไมเราถึงตัดสินคนอื่นด้วยเรื่องเหล่านี้อย่างไม่รู้ตัว
06/06/2019 Duración: 15minการตัดสินผู้อื่นเป็นธรรมชาติของมนุษย์ เพราะต้องการประเมินเบื้องต้นว่าเราอยู่ตรงไหนและควรปฏิบัติต่ออีกฝ่ายอย่างไร แต่เป็นเรื่องที่ควรระวังเพราะเรามักใช้ประสบการณ์ส่วนตัวในการตัดสินคนอื่นอยู่เสมอ นอกจากเรื่องที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ R U OK เอพิโสดนี้จะชวนค้นลงไปว่ามีแง่มุมไหนที่เราตัดสินกันอีกโดยไม่รู้ตัว และเมื่อมันเป็นธรรมชาติที่เลี่ยงยาก เรามีวิธีไหนที่จะลดการตัดสินและเหมารวมคนอื่น เพราะสิ่งที่เรารับรู้อาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นก็ได้ Time index 04:00 มุมมองไม่ใช่เรื่องถูกผิด 04:15 เราตัดสินคนอื่นเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องรู้เท่าทัน 05:27 เราตัดสินคนอื่นจากประสบการณ์ส่วนตัวซึ่งอาจไม่ใช่ความจริง 05:48 การตัดสินคนอื่นมาจากความพยายามหาคำตอบให้โลกใบนี้ 06:50 เราหาคำตอบด้วยการเชื่อมโยงไปที่บุคลิกภาพและประสบการณ์ 08:01 เราลดการตัดสินคนอื่นด้วยการเชื่อมโยงไปที่สถานการณ์แทนบุคคล 09:05 การเหมารวม (Stereotype) นำไปสู่การตัดสินคนอื่นได้ง่าย 10:40 ไม่ใช่เพียงพฤติกรรม แต่เราตัดสินคนจากความดีและวัฒนธรรม
-
RUOK96 สื่อสารอย่างเห็นใจคนตรงหน้า ว่าเขาแบกความรู้สึกอะไรมาและยอมรับซึ่งกันและกัน
04/06/2019 Duración: 19minเราสื่อสารกันทุกวันแต่บางครั้งก็ไม่สามารถพูดได้อย่างใจ เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นที่ว่าอาจแก้ได้ด้วย Empathic Communication หรือการสื่อสารที่เห็นอกเห็นใจอีกฝ่าย รับรู้ว่าคู่สนทนากำลังแบกความรู้สึกอะไรมา จนเราสามารถหาวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมกลับไป R U OK เอพิโสดนี้ชวน ณัฐ ศักดาทร คุยกับดุจดาว วัฒนปกรณ์ ว่า Empathic Commication คืออะไร ช่วยแก้ไขความไม่เข้าใจกันอย่างไร และฝึกแบบไหนให้เราเข้าใจอีกฝ่ายจากจุดที่เขามอง Time index 02:48 Empathic Communication คืออะไร 06:34 การสื่อสารไม่ได้หมายถึงเพียงการพูดและคอมเมนต์ แต่ยังคือภาษากายและน้ำเสียงด้วย 07:15 เช็กตัวเองก่อนว่าเราสามารถรับรู้ความละเอียดอ่อนตรงหน้าพอหรือยัง 08:34 พยายามเข้าใจคนตรงหน้าจากจุดที่เขายืนอยู่ 10:17 เราไม่มีทางเห็นโลกใบนี้เหมือนกัน 12:44 แค่พยายามเข้าใจคนอื่นก็เพียงพอแล้ว 13:20 ความอยากเข้าใจคนอื่นเริ่มต้นจากอะไร 15:00 Empathic Communication สำคัญอย่างไร
-
RUOK95 ถูกปฏิเสธความรักมาเป็นปี ทำไมใจยังชา? จะรับมืออย่างไรกับคนที่ชอบพูดว่าอะไรก็ได้?
31/05/2019 Duración: 21min2 คำถามประจำเดือนพฤษภาคมที่หลายคนน่าจะมีประสบการณ์ร่วม ทั้งเรื่องการถูกปฏิเสธความรักที่ผ่านไปเป็นปี ทำไมใจยังรู้สึกชา แถมยังพบหน้ากันอยู่แบบนี้จะเริ่มต้น Move on อย่างไร กับอีกคำถามที่ไม่ว่าเพื่อนกลุ่มไหนก็ต้องเจอคือคำตอบว่า ‘อะไรก็ได้’ เมื่อเลือกอะไรสักอย่าง แต่ผลลัพธ์กลายเป็นคอมเมนต์ว่าถ้าเลือกอีกอย่างคงไม่ออกมาเป็นอย่างนี้ จะรับมืออย่างไรดีให้ไม่เสียน้ำใจกัน Time index 06:13 ผ่านการถูกปฏิเสธความรักมาเป็นปี แต่ทำไมใจยังชา 13:36 รับมืออย่างไรดีกับคนที่ชอบพูดว่าอะไรก็ได้
-
RUOK94 จะรับมือกับการถูกนินทาอย่างไร เพราะไม่ว่าใครก็หนีไม่พ้น
27/05/2019 Duración: 16minไม่ว่าเหตุผลของการนินทาจะเป็นการผูกมิตร การแสดงความไว้เนื้อเชื่อใจ หรือการทำให้รู้สึกเป็นพวกเดียวกันก็ตาม เหล่านั้นน่าจะไม่ใช่สิ่งที่เฮลตี้ และเราก็สามารถมีตัวเลือกอื่นมากมายเพื่อทำความรู้จักกับใครสักคน เพราะไม่ว่าใครก็หลีกหนีการนินทาไม่พ้น R U OK เอพิโสดนี้จะพาไปดูฟังก์ชันของการนินทาว่ามันใช้ทำอะไร พูดถึงกับนินทาต่างกันตรงไหน และจะรับมืออย่างไรกับมนุษย์ขี้นินทาที่เราเจอได้ทุกวัน Time index 02:01 เรื่องของคนเป็นประเด็นใหญ่ในการสนทนาเสมอ 03:37 เส้นบางๆ ของการนินทากับพูดถึง 04:23 การพูดลับหลังทำลายความไว้ใจของคน 05:09 จะเล่าเรื่องคนอื่นให้เพื่อนฟัง ลองสังเกตสรรพนามที่ใช้ 06:12 เราเข้าใจว่าการนินทาจะช่วยผูกมิตร 06:34 เราเข้าใจว่าการนินทาคือการแสดงความจริงใจ 09:23 เราจะรับมือกับการถูกนินทาอย่างไร
-
RUOK93 จะเริ่มรับรู้คุณค่าในตัวเองอย่างไร จากที่ Low Self-Esteem มาทั้งชีวิต
23/05/2019 Duración: 17minแม้ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่การเพิ่ม Self-Esteem เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ โดยทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนสุดท้ายเราจึงเห็นคุณค่าของตัวเอง R U OK เอพิโสดนี้จึงชวนปรับพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อสร้าง Self-Esteem ให้กับตัวเรา ตั้งแต่การเรียนรู้และยอมรับในตัวเอง ลองฝึกตัดสินใจ หรือแม้แต่การให้เกียรติผู้อื่นก็เป็นหนึ่งในวิธีของการเห็นคุณค่าของตัวเองเช่นกัน Time index 02:03 Low Self-Esteem กับความไม่มั่นใจในตัวเองอาจคือคนละเรื่องกัน 05:54 เราเป็นแค่คนธรรมดาที่มีความภูมิใจในการเป็นเรา 06:24 หาเรื่องภูมิใจเล็กๆ ในตัวเอง 07:11 เปลี่ยนเสียงในใจและหาจุดว้าวให้ตัวเอง 08:08 หลายบ้านไม่ชมลูกหลานเพราะกลัวเหลิง 08:50 ลองเป็นผู้ให้หรือสร้างคุณค่าใหม่ขึ้นมา 12:01 ลองชมตัวเองด้วยการออกเสียง 13:33 ลองหางานอดิเรกที่ตัวเองถนัด 14:12 ลองฝึกปฏิเสธ เพราะจะทำให้เราเห็นความต้องการของตัวเอง 15:05 เคารพตัวเองและผู้อื่น
-
RUOK92 Self-Esteem ไม่ใช่เพียงความมั่นใจ แต่คือการเห็นในคุณค่าในตัวเองที่มนุษย์ทุกคนควรมี
21/05/2019 Duración: 17minSelf-Esteem คือการรับรู้คุณค่าของตัวเองที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าคนนั้นจะสูงต่ำดำขาว เชื้อชาติ เพศอะไรทุกคนล้วนมีคุณค่า แต่ก็มีไม่น้อยที่หลายคนรับรู้คุณค่าตัวเองต่ำกว่าความเป็นจริงสิ่งนั้นเราเรียกว่า Low Self-Esteem R U OK เอพิโสดนี้เลยขอพาทุกคนไปมองเห็นคุณค่าในตัวเอง พร้อมค้นหาว่าอะไรบ้างที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เรา Low Self-Esteem เผื่อเชื่อมโยงขณะที่ฟังและอาจเห็นอะไรๆ ในตัวเองชัดขึ้น Time index 02:07 Self-Esteem คืออะไร เหมือนหรือต่างจาก EGO อย่างไร 05:08 High Self-Esteem คืออะไร มีข้อเสียบ้างไหม 06:14 โครงสร้างทางสังคมไทยบางอย่างมีผลให้เด็ก Low Self-Esteem 09:39 เปลี่ยนคำว่า ‘แค่’ เป็นคำว่า ‘ตั้ง’ 13:24 พฤติกรรมเล็กๆ ของคนในสังคมก็มีผลต่อ Self-Esteem
-
RUOK91 ฝึกยอมรับและเมตตาต่อตนเองอย่างไร ให้ผ่านวันที่แย่ๆ
17/05/2019 Duración: 16minเราสามารถเมตตา และปลุกปลอบผู้อื่นได้ เมื่อเขาต้องการกำลังใจ แต่เชื่อหรือไม่ว่าเราก็สามารถทำแบบนั้นกับตัวเองให้ผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากได้เช่นกัน R U OK พอดแคสต์เอพิโสดนี้มีโฮสต์พิเศษคือดีเจพี่อ้อย นภาพร ที่จะมาชวนคุยเรื่องการเมตตาต่อตัวเองว่าคืออะไร ต่างกับการใช้ตัวเองเป็นหลักตรงไหน จนถึงการทบทวนตัวเองว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นคือสิ่งที่เรา ‘ต้องทำ’ หรือ ‘อยากทำ’ กันแน่ Time index 02:15 การเมตตาต่อตนเองเป็นสิ่งที่ฝึกกันได้ 03:40 การเมตตาต่อตนเองเริ่มต้นจากการยอมรับสิ่งที่เป็น 05:18 โอบกอดประสบการณ์ในแง่ลบของตัวเอง 07:15 รู้เท่าทันพฤติกรรมของตัวเอง 08:47 ไม่ต้องเรียกร้องให้คนอื่นใส่ใจเรา เพราะเราใส่ใจตัวเองได้ 10:26 เริ่มเมตตาตนเองอย่างไรในวันที่อยู่คนเดียว 10:50 ทบทวนตัวเองว่าสิ่งไหน ‘ต้องทำ’ และสิ่งไหน ‘อยากทำ’ 13:10 การเมตตาต่อตนเองไม่ใช่การเห็นแก่ตัว
-
RUOK41 คิดถึงความตายบ่อยๆ เป็นอะไรไหม คิดถึงความตายแง่มุมไหนที่ควรระวัง [Re-Broadcast]
13/05/2019 Duración: 13minแม้ความตายจะเป็นเรื่องธรรมชาติที่ทุกคนต้องประสบพบเจอ แต่การคิดถึงความตายบางครั้งอาจไม่ Healthy บางคนวางแผนช่วงสุดท้ายของชีวิตว่าจะเป็นไปอย่างไร บางคนคิดถึงวิธีการตายหรือแม้แต่หนทางการฆ่าตัวตาย R U OK เอพิโสดนี้เลยขอชวนทบทวนตัวเอง ว่าความคิดเกี่ยวกับความตายที่ลั่นขึ้นมาบ่อยๆ เป็นไปในลักษณะไหน และหากคนใกล้ชิดยกประเด็นความตายขึ้นสนทนา ควรทำอย่างไร Time index 01:58 คิดถึงความตายกับคิดอยากฆ่าตัวตายต่างกันอย่างไร 02:55 เราหลีกเลี่ยงการพูดถึงความตายเพราะกลัวเป็นเรื่องไม่มงคล 04:34 อยากฆ่าตัวตายคือการตั้งคำถามกับคุณค่าของชีวิตตัวเอง 09:00 ถ้าเพื่อนพูดถึงเรื่องความตาย อย่าเพิ่งปัดตก แต่ให้ตั้งใจฟัง 10:06 คิดถึงความตายแบบไหนที่ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
-
RUOK90 นิสัยยอมไม่ได้ แพ้ไม่เป็นมาจากไหน และฝึกแพ้อย่างไรให้ลุกได้แกร่งขึ้น
10/05/2019 Duración: 15minเรารู้จักแพ้กันมาตั้งแต่เด็ก ทั้งตอนเกมกับเพื่อนหรือเล่นกีฬาในวิชาพลศึกษา แต่เมื่อโตขึ้น ความรับผิดชอบ หน้าที่การงาน หรือภาพลักษณ์ ทำให้การแพ้ของเราลุกขึ้นยากกว่าตอนเด็กๆ อย่าเพิ่งให้ค่าว่าการแพ้คือความล้มเหลวหรือความผิดพลาด ในวันที่ทุกอย่างพังครืนลงมาและเห็นตัวเราอยู่ใต้ซากเหล่านั้น จะทำอย่างไรให้เราค่อยๆ ลุกขึ้นมาอย่าง Healthy และประกอบส่วนที่เหลือให้แข็งแกร่งได้ในที่สุด Time index 02:05 คนเราแพ้ชนะเป็นเรื่องธรรมชาติ 03:15 การเลี้ยงดูมีส่วนสร้างนิสัยต้องเอาชนะ 04:07 แรงขับในการเอาชนะมีส่วนในการเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น 08:05 ผู้ใหญ่พังทลายได้ง่ายกว่าเด็ก เพราะแบกตัวตนและความคาดหวังไว้ 08:54 สำรวจตัวเองจากการถูกว่ากล่าวตักเตือน 10:58 แพ้อย่างไรให้ Healthy 12:21 อย่าวิ่งหนีความพ่ายแพ้ 12:50 เราจะได้ทักษะชีวิตบางอย่างจากความพ่ายแพ้ 13:26 RQ (Resilience Quotient) หรือศักยภาพในการปรับอารมณ์และจิตใจจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อเราผ่านความพ่ายแพ้
-
RUOK89 ทำไมมีไม่เหมือนกัน ทำไมฉันได้ไม่เท่าเธอ: สังเกตพฤติกรรมการเปรียบเทียบของตัวเองอย่างไรว่าเริ่มไม่โอเค
07/05/2019 Duración: 16minการเปรียบเทียบเป็นธรรมชาติของมนุษย์ เพราะคือกลไกที่จะบอกตัวเองว่า เรากำลังยืนอยู่ตรงไหน มีบทบาทอย่างไร และต้องปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างไร แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะสำหรับบางคนมักเปรียบเทียบจนเป็นนิสัย และเริ่มนำความทุกข์ใจมาสู่ตัวเอง R U OK เอพิโสดนี้เลยลงรายละเอียดด้วยการเวิร์กช็อปเล็กๆ ให้มองเห็นถึงเรื่องที่เราชอบเปรียบเทียบ เพราะอาจเป็นต้นทางให้เรายอมรับและมองเห็นอีกด้านของตัวเอง Time index 02:30 การเปรียบเทียบเพื่อให้เรารู้ว่าอยู่ตรงไหน มีบทบาทอย่างไร และปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างไรในสังคม 03:48 การเปรียบเทียบกับคนที่ด้อยกว่าเกิดขึ้นเมื่อเรารู้สึกหวั่นไหวในคุณค่าของตัวเอง 05:10 การลด Self-Esteem ของคนอื่น ไม่ได้เพิ่ม Self-Esteem ของตัวเอง 05:55 การเปรียบเทียบกับคนที่สูงกว่าเพราะอยากมีแรงจูงใจในการใช้ชีวิต 08:18 จุดชี้วัดของพฤติกรรมเปรียบเทียบที่ไม่ Healthy 10:53 สำรวจตัวเองด้วยเวิร์กช็อปเล็กๆ เรื่องการเปรียบเทียบ
-
RUOK88 งานหนัก เงินน้อย รถติด ใช้ชีวิตแข่งกับเวลา จะหาวิธีจัดการความเครียดอย่างไรดี
02/05/2019 Duración: 18minชีวิตคนเมืองที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดอยู่ตลอดเวลา จนบางครั้งเราไม่รู้ตัวว่าความเครียดเล็กๆ น้อยๆ ที่สะสมมาอาจทำให้ส่งผลในระยะยาว R U OK เอพิโสดนี้จึงชวนมาสำรวจตัวเอง สังเกตต้นเหตุ พร้อมวิธีการจัดการความเครียดทั้งในเชิงปรับความคิดและรูปธรรม และเมื่อเราต้องปะทะกับสิ่งเร้า จะได้รู้เท่าทันและจัดการได้อย่างเหมาะสม Time index 03:01 รับรู้ความเครียดด้วยการสังเกตอาการทางกาย 07:27 สังเกตต้นเหตุของความเครียดว่ามาจากไหน 08:38 ยอมรับว่าตัวเองเครียด และอย่าตัดสินว่าเครียดคือสิ่งไม่ดี 10:36 เขียน Mind Mapping ความเครียดของฉัน 12:10 ดูว่าเรื่องไหนตัดได้ ถ้าตัดได้ตัด 13:31 เรื่องไหนกระทบกับชีวิตที่สุด จัดการได้เร็วที่สุด จัดการเรื่องนั้นก่อน 13:53 ถามตัวเองว่าที่ผ่านมาจัดการกับปัญหาเหล่านี้อย่างไร 14:28 หาความช่วยเหลือจากเพื่อนที่ไว้ใจและไม่ตัดสิน 16:37 การออกกำลังกายจะหลั่งสารแห่งความสุข
-
RUOK87 กลับมารักตัวเองอย่างไรหลังผูกชีวิตติดกับคนอื่นหลายปี? จัดการความรู้สึกอย่างไรดีเมื่อถูกทักว่าอ้วน?
29/04/2019 Duración: 17minคำถามที่หลายคนน่าจะเคยเจออย่างการถูกทักว่าอ้วน แม้จะเป็นจริงตามนั้นแต่ก็ไม่ทุกครั้งที่เราจะสามารถรับมือกับคำทักทายนี้ แถมพกความไม่สบายใจกลับบ้านไปทุกที เราจะจัดการกับความรู้สึกนี้ที่เกิดขึ้นอย่างไร และอีกคำถามจากทางบ้านที่อยากกลับมารักตัวเอง หลังจากเอาชีวิตไปผูกติดกับความรักที่ไม่สมหวังกว่าสิบปี ซึ่ง R U OK ขอยืนยันว่าการเติมเต็มให้ตัวเองทำได้จริง แม้ต้องใช้เวลาอย่างค่อยเป็นค่อยไปก็ตาม Time index 01:14 ถูกทักว่าอ้วนเป็นประจำจะทำอย่างไรดี 03:36 สิ่งที่เราทักคนอื่นอาจเป็นเรื่องเดียวกับที่เรากังวล 07:20 เราต้องเคารพร่างกายของตัวเองด้วยการเลิกตัดสิน 10:15 กลับมารักตัวเองอย่างไรหลังเอาชีวิตไปผูกติดกับคนอื่นหลายปี 14:20 เราคือคนผูกติดเอง 15:14 สิ่งที่หายไปไม่ใช่แค่คนคนนั้น แต่คือคุณค่าของตัวเราด้วย
-
RUOK86 ทำอย่างไรเมื่อคนรักขู่จะเลิก ชอบพูดทำร้ายจิตใจ และใช้ความความสัมพันธ์เป็นตัวประกัน
25/04/2019 Duración: 17minหลายคนอาจกำลังเจอความรักที่ Toxic เพราะแม้ยังรักอยู่แต่กลับถูกบั่นทอนด้วยคำพูดที่คอยทำร้าย หนักข้อเข้าก็ขู่จะเลิกเพราะรู้ว่าเราไม่มีทางไปไหน R U OK พอดแคสต์เอพิโสดนี้เลยอยากชวนทำความเข้าใจว่าคำพูดทำร้ายจิตใจเหล่านั้น มีความรู้สึกอะไรที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง และหากอยากให้ความสัมพันธ์ยืนยาว จะสื่อสารกันอย่างไรให้เหมาะสมและเข้าใจความรู้สึกอีกฝ่ายมากขึ้น Time index 02:05 ประสบการณ์ตรงที่มีคนรักใช้คำพูดทิ่มแทงและขู่จะเลิก 05:18 ความรักไม่สามารถเยียวยาคำพูดที่ทิ่มแทงของคนรักได้ 05:37 ทำไมเราถึงพูดจาทิ่มแทงคนรัก และมีเบื้องหลังอะไร 07:45 กฎเหล็กของความสัมพันธ์คือห้ามพูดคำว่าเลิกกัน 08:28 วิธีที่ยืนยันความสัมพันธ์ว่าเรายังรักกันมีหลายวิธี 10:03 การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตคู่ 12:43 ถ้าอยากเข้าใจอีกฝ่ายจริงๆ อย่าไปลดความรู้สึกเขาให้เล็กลง 13:02 รูปแบบความสัมพันธ์อื่นๆ ที่ Toxic
-
RUOK85 เมื่อความสำเร็จไม่ใช่ทุกอย่าง แต่การปล่อยให้รู้จักพลาดต่างหากคือการทำให้ลูกเติบโต
22/04/2019 Duración: 18minเมื่อพูดถึงปัญหาความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งคือลูกรู้สึกว่าถูกพ่อแม่บังคับ ซึ่งนำพาให้เกิดความรู้สึกไร้ค่า เครียด กดดัน และปัญหาอื่นๆ ที่คาดไม่ถึง R U OK เอพิโสดนี้จึงอยากทำความเข้าใจว่าการวางแนวทางให้ลูกปฏิบัติตามอย่างเข้มงวด อาจไม่ใช่คำตอบของความสำเร็จเสมอไป และเราจะสื่อสารกันภายในครอบครัวอย่างไร เพื่อให้มองเห็นถึงความต้องการของอีกฝ่ายจริงๆ Time index 02:05 ปัญหาใหญ่ระหว่างพ่อแม่กับลูกคือการถูกบังคับ 03:09 เมื่อความต้องการของลูกถูกเมิน ความรู้สึกไร้ค่าก็ตามมา 03:33 เด็กหลายคนเห็นเพียงความต้องการของพ่อแม่ที่วางทาบตัวเขา 05:54 พ่อแม่หลายคนบอกว่ารักลูกมาก แต่ไม่เห็นความต้องการของลูกเลย 06:12 พ่อแม่ และญาติบางคนเผลอบังคับลูกหลานโดยไม่รู้ตัว 08:33 จะสื่อสารกับพ่อแม่อย่างไรเมื่อถูกบังคับ 09:44 การสวนกลับทำให้ทุกฝ่ายเจ็บปวดและปัญหาบานปลาย 12:54 อนุญาตให้ลูกพลาดบ้าง นั่นคือจุดที่ทำให้เขาเติบโต